วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Tour de France

ตูร์เดอฟร็องส์ (Tour de France) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากร็องด์บุกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟร็องส์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
-          จีโรดีตาเลีย (Giro d'Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน
-          วูเอลตาอาเอสปันญา (Vuelta a España) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส
การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ
 สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด
 สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด (the leader of the points classification)

 สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains
 สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 26 ปี


วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Sport national en France

กีฬาประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส

เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีการบันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันได้ใช้การกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่เศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ. 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศษ ครั้นพอสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจพระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ ให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศสและเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆ ไป ได้เล่นกันอย่างเสมอภาคทุกคน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนามและเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูลโปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1910 ตำบลซิโอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชรด์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูก บูล-โปรวังซาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลเก่งกาจที่สุดในขณะนั้น และได้เป็นแชมป์โปรวังซาลในยุคนั้นด้วยแต่ได้ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงจนขาทั้งสองข้างพิการเดินไม่ได้ไม่สามารถจะเล่นกีฬาโปรวังซาลเหมือนเดิมได้ ต้องนั่งรถเข็นดูเพื่อนๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเลย
วันหนึ่งขณะที่นายจูลร์ เลอนัวร์ ได้นั่งรถเข็นมองดูเพื่อนๆ เล่นเกมโปรวังซาลอย่างสนุกสนานอยู่นั้น น้องชายเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเป็นอย่างมาก น้องชายของเขาจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยการขัดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนในวงกลม ให้ขาทั้งสองยืนชิดติดกัน ไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล ทั้งนี้โดยมีเพื่อนๆ และญาติของนาย จูลร์ เลอนัวร์ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายจูลร์ เลอนัวร์ จึงได้มีโอกาสร่วมเล่นกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้อย่างสนุกสนามและเพลิดเพลินเหมือนเดิม
เกมกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเข้าสู่นักกีฬา นักการเมือง และข้าราชการประจำในราชสำนัก จนในที่สุดก็ได้มีการก่อตั้ง "สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล" ขึ้นในปี ค.ศ.- 1938 จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่นมากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ลิโยเน่ล์
2. โปรวังชาล (วิ่ง 3 ก้าวแล้วโยน)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นในปัจจุบัน)
กีฬาเปตองจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.-1959 ที่เมืองสปา ประเทศเบลเยียม นักเปตองจากประเทศฝรั่งเศสได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ

ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย สำหรับในประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางมากในปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Le pain en france

ขนมปังฝรั่งเศส
ครัวซอง(croissant)


แต่ก่อนอาหารเช้าของฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมต้องมีครัวซองต์ในมื้อนั่นด้วย หากว่าตอนนี้ครัวซองต์ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแซนวิชในมื้อเช้าหรือเป็นเพียงอาหารว่างที่ทานเล่นได้ตลอดทั้งวัน ประเทศไทยก็เช่นกัน ที่จริงครัวซองต์ออกเสียงค่อนข้างยากสำหรับคนไทยเรา แต่ได้รับ ความนิยมค่อนข้างมากในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งราคาไม่แพง ส่วนใหญ่ พบได้ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เช่นแม็คโคร แม้คุณภาพของครัวซองต์ ไม่เท่ากับครัวซองต์ในยุโรป แต่อย่างน้อยก็ช่วยสร้างกระแสให้เป็นที่รู้จัก และนิยมรับประทานกันแพร่หลายในไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ขนมมาการอง (Macaron)

เป็นขนมหวานที่มีส่วนประกอบหลักของ Almond น้ำตาล และไข่ขาว มีลักษณะคล้ายคุ้กกี้ชิ้นเล็กสองอันประกบกันมีไส้ตรงกลาง มีสีสันสดใส กรอบนอกนุ่มใน สอดไส้ตรงกลางด้วยกานาช (Ganache) มีหลายรสชาติ เช่น ช็อกโกแลต สตรอเบอร์ รี่ วานิลลา อัลมอนด์ หรือผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น และมักนิยมทานคู่กับชา หรือ กาแฟ

บาเกต (baguette)

เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Attractions en France

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส
1. การนั่งรถทัวร์ชมกรุง (Double Decker Bus Tour)
การนั่งรถทัวร์ชมกรุงเป็นสิ่งที่คุณควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวที่มาปารีสเป็นครั้งแรก เพราะที่นี่จะมีรถทัวร์ที่เรียกกันว่า L'Open ทัวร์ ซึ่งเป็นรถทัวร์ที่มีดาดฟ้าอยู่ข้างบน เพื่อให้คุณได้ชมเมืองปารีสอย่างไม่มีอะไรบดบังสายตาเลย
นักท่องเที่ยวสามารถซื้อตั๋ววันเดียวหรือสองวันก็ได้ สำหรับการนั่งรถชมเมืองใน 4 เส้นทาง โดยทันทีที่คุณซื้อตั๋วแล้ว ทางรถทัวร์จะมีชุดหูฟังให้คุณ เพื่อใช้ในการเสียบต่อกับแจ็คที่อยู่บริเวณด้านข้างของเบาะที่นั่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถฟังบรรยายไปตลอดการเดินทาง โดยเลือกฟังได้ถึง 8 ภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ

2. ชมทิวทัศน์จากด้านบนของหอไอเฟล (Eiffel Tower)

หอไอเฟลไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองปารีสเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสด้วย ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวคนใดไม่ได้ไปเยือนหอไอเฟล ถือว่าไปไม่ถึงฝรั่งเศสเลยทีเดียว ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวกว่า 60 ล้านคน ไปเยือนหอไอเฟล โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชมทัศนียภาพรอบกรุงปารีสได้ เพียงแค่ซื้อบัตรที่บูธซึ่งอยู่บริเวณฐานของหอไอเฟล แล้วขึ้นลิฟท์ไปยังชั้นต่าง ๆ ของหอไอเฟลภาษาญี่ปุ่น ภาษาอิตาลี ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษารัวเซีย และภาษาจีน

3. ล่องเรือในแม่น้ำเซน ชมพระอาทิตย์ตกดิน (Sunset River Cruise on the Seine)

            การล่องเรือในยามใกล้ค่ำเป็นทางเลือกที่ดีมาก หากคุณอยากจะชมทิวทัศน์ยามราตรีของกรุงปารีส โดยเรือจะล่องจากหอไอเฟล ผ่านสถานที่ที่น่าสนใจสองฝั่งแม่น้ำเซน รวมถึงผ่านโบสถ์นอทเทอร์ดัมด้วย
            สำหรับเคล็ดลับของการนั่งเรือชมพระอาทิตย์ตกดินนั้น แนะนำให้คุณไปก่อนเวลาขายตั๋ว เพื่อที่จะได้เลือกที่นั่งหลังก่อนนักท่องเที่ยวคนอื่น ซึ่งที่นั่งด้านหลังสุดนี้จะเป็นบริเวณที่ไม่มีหลังคา ไม่ล้อมด้วยกระจก และบริเวณนี้คือจุดที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพสวย ๆ ของเมืองปารีสยามพระอาทิตย์ตก

4. โบสถ์นอทเทอร์ดัม (Notre Dame Cathedral)


            โบสถ์นอทเทอร์ดัมเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของกรุงปารีส เพราะเป็นสถานที่ที่อยู่คู่กับเมืองปารีสมาช้านาน และมีชื่อเสียงด้านความใหญ่โตหรูหรา มีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก โดยการเที่ยวชมนั้นนักท่องเที่ยวจะได้เห็นความอลังการของโบสถ์นอทเทอร์ดัม อีกทั้งยังต้องขึ้นบันได 387 ขั้นเพื่อไปถึงยอดของโบสถ์

5. โบสถ์แซงต์ ชาแปลล์ (Sainte Chapelle)


            ถัดจากโบสถ์นอทเทอร์ดัม มีโบสถ์แซงต์ ชาแปลล์ ซึ่งเป็นโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวปารีส สร้างในสไตล์กอธิค มีการประดัประดาด้วยกระจกสวยงามมากมาย จนนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมต่างยอมรับว่ากระจกที่ใช้ตกแต่งโบสถ์มีความงดงามที่สุด ยิ่งเมื่อแสงจากภายนอกส่องเข้ามา ยิ่งทำให้มองเห็นลายกระจกชัดเจนและสวยงามมาก

6. ถนนฌ็องเซลิเซ่ และประตูชัยนโปเลียน (Champs Elysees & Arc de Triomphe)


            ถนนฌ็องเซลิเซ่ เป็นถนนที่มีความสวยงามและมีชื่อเสียงที่สุดในกรุงปารีส นักท่องเที่ยวสามารถเดินตามถนนสายนี้ไปสู่ประตูชัยนโปเลียน ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส และที่นี่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมชั้นบนของประตูชัยได้ โดยเดินขั้นบันได 284 ขั้น หรือใช้ลิฟต์

7.  เลแซงวาลิด (Les Invalides (Napoleon's Tomb))

            เลแซงวาลิด เป็นอาคารที่ฝังพระศพของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ซึ่งมีศพนายพลพระสหายของพระเจ้านโปเลียนอีกหลายคนฝังอยู่ด้วย ตัวอาคารมีโดมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นโดมที่สวยงามที่สุดในกรุงปารีส นอกจากนี้ ยังมีศิลปะมากมายจัดแสดงอยู่ในนั้นอีกด้วย

8. พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ (Musee d'Orsay)


            พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมศิลปะหลายอย่างเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ศิลปะด้านการออกแบบสิ่งทอ ศิลปะทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย ประติมากรรม ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของปารีสออกมาได้เด่นชัดเลยทีเดียว

9. พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (The Louvre)
            เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นพระราชวังหลวงมาก่อน จัดแสดงศิลปะที่มีคุณค่าระดับโลกมากมาย เช่น ภาพเขียนโมนาลิซ่า ผลงานของต่าง ๆ ของเลโอนาร์โด ดาวินซีแลอเล็กซานดรอส นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมมากที่สุดในกรุงปารีส ดังนั้น คุณจึงไม่ควรพลาดในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ลูฟร์แห่งนี้

10. มงต์มาร์ทร์ (Montmarte & Sacre Couer Basilica)

            มงต์มาร์ทร์เป็นหุบเขาสูง 130 เมตร ทางเหนือของปารีสและเป็นจุดที่สูงที่สุดของเมือง บนเขาเป็นที่ตั้งของโบสถ์ซาเครเกอร์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่อุทิศแด่ชาวฝรั่งเศส ที่เสียชีวิตจากสงครามกับปรัสเซีย ออกแบบตามแบบศิลปะสไตล์โรมัน - ไบเซนไทน์ ซึ่งมีความอลังการและงดงามมาก

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Festivals annuels de France.

เทศกาลประจำปีที่น่าเที่ยวของฝรั่งเศส

Le Carnival de Nice
        งานคาร์นิวัลที่เมืองนีซ นั้นเป็นหนึ่งในงานคาร์นิวัลหลักๆ ของโลก นอกจาก งานคาร์นิวัลที่บลาซิล และ งานคาร์นิวัลที่เวนิช อิตาลี เลยทีเดียว ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นทุกๆ ปีประมาณเดือน กุมพาพันธ์ ใน เมือง นีซ ประเทศ ฝรั่งเศส
        จากบันทึกแสดงให้เห็นว่า งานคาร์นิวัลนี้มีมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1294 โดย ท่านเคาท์แห่งปรอแวนส์ (Count of Provence ) ได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้น จึงมีการสันนิฐานว่าเป็นจุดกำเนิดของงานคาร์นิวัลที่เมืองนิซแห่งนี้ โดยแต่ละปี งานคาร์นิวัลที่เมืองนีซมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมมากว่า 1,000,000 คนต่อดี ซึ่งมีการจัดงานยาวถึง 2 สัปดาห์เลยทีเดียว

Le Festival de Cannes
         เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลมากที่สุดรวมถึงชื่อเสียง เทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน และเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ไม่เฉพาะภาพยนตร์ที่เป็นกระแสเหมือนกับ Holly woods แต่เป็นงานที่เปิดโอกาสให้กับภาพยนต์สั้นของผู้จัดทำภาพยนตร์อิสระ งานจัดขึ้นประจำปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congr?s ในเมืองคานส์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

Ferias de Nimes


        งานเทศกาลที่เมืองนิมส์ เป็นการจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้กับความกล้าหาญในการต่อสู้ของวัวกระทิงและนักสู้วัวกระทิง หรือ โตแรโร ( Torero ) โดยนักสู้วัวกระทิงนี้มีสถานะที่เป็นเหมือนกับวีรบุรุษของชาติ เหมือนกับ นักฟุตบอลของประเทศเลยทีเดียว งานเทศกาลนี้ไม่จำเป็นต้องชมการต่อสู้วัวกระทิงเท่านั้น ยังมีกิจกรรมมากมายที่ทำให้งานเทศกาลที่เมืองนิมส์มีความรื่นเร่งเช่น การแสดงดนตรีตามถนนสายต่างๆ ภายในเมืองเป็นต้น

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Le plat national de la Françe


Foie gras (ฟัวกรา)


คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา  
ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส
  

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Etiquette de manger

มารยาทในการรับประทานอาหารของชาวยุโรป
1. เมื่อถึงโต๊ะอาหาร => ให้ผู้อาวุโส-สุภาพสตรี นั่งก่อน
เมื่อเข้ามาถึงที่โต๊ะ ตามมารยาทนั้นต้องให้ผู้อาวุโสกว่านั่งก่อน แล้วก็ตามด้วยคุณผู้หญิง ซึ่งเท่าที่เราพบ แม้ปกติทางห้องอาหารจะมีบริกร คอยเลื่อนเก้าอี้ให้อยู่แล้ว
2. ผ้าเช็ดปาก => ห้ามนำมา เหน็บคอเสื้อเด็ดขาด
หลังนั่งประจำที่แล้ว บริกรจะมาคลี่ผ้าเช็ดปาก หรือเน็ปกิ้น (napkin) ให้ค่ะ แต่หากคุณต้องการคลี่เอง ก็สามารถทำได้ โดยกูรูทิวาแนะนำว่า ให้พับเป็นสามเหลี่ยมเพราะใช้ง่าย ไม่เลื่อนหลุดขณะรับประทาน เมื่อต้องการเช็ดปาก เช็ดมือ ให้ใช้ปลายผ้าด้านในเช็ด และหลังเช็ดเสร็จ ให้เอาผ้าอีกด้านปิดไว้ ผู้ร่วมโต๊ะจะได้ไม่เห็นคราบที่ไม่น่ามอง โดยเฉพาะคุณสาวๆ ที่ทาลิปสติกสีจัดยิ่งต้องท่องให้ขึ้นใจ ว่าหากเช็ดที่ผ้าด้านนอก ประชาชีรอบข้างคงได้เห็นรอยปากเซ็กซี่ (ที่อยู่ผิดที่) ของคุณเป็นแน่
3. ใช้มีด-ส้อม => จับให้เหมือนดินสอ
การใช้มีดและส้อมสำหรับตัดอาหารทาน แนะนำให้จับเหมือนดินสอจะถนัดมือ โดยคว่ำส้อมลงที่ชิ้นเนื้อ ใช้มีดตัดเป็นชิ้นพอคำ แล้วค่อยนำเข้าปากอย่างสุภาพ ไม่เพียงเท่านี้ คุณทิวายังให้ทิปแถมว่า
       หากเป็นเนื้อที่ติดมากับกระดูก ให้ตัดเนื้อแยกออกจากกระดูกให้หมดชิ้นเสียก่อน จากนั้นนำกระดูกวางไว้ข้างจานแล้วค่อยทานเนื้อที่ตัดไว้ แต่หากเป็นปลาที่เสิร์ฟมาทั้งตัว (พบไม่บ่อยนัก) ก็มีข้อบ่งชี้ว่าห้ามพลิกตัวปลาค่ะ ให้ใช้ส้อมและมีดค่อยๆ เลาะก้างออกแล้วจึงทาน
4. ทานซุป => ตักออกตัว แล้วทานจากข้างช้อน
                การทานซุป ในมารยาทสากลนั้น จะใช้วิธีตักซุปไปด้านหน้า (ออกจากตัว) แล้วรับประทานจากข้างช้อน โดยจะไม่นำทั้งช้อนเข้าปาก กรณีซุปใกล้หมดสามารถเอียงชามได้ แต่ก็ควรเอียงไปด้านหน้าอีกเช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่ต้องเอียงแบบนี้ กูรูหนุ่มหน้าเข้ม ให้เหตุผลว่า การเอียงถ้วยซุปไปด้านหน้าจะทำให้แขนเรากางน้อยกว่า เอียงถ้วยเข้าหัวตัวค่ะ และยิ่งกางแขนน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการรักษามารยาท ไม่รบกวนคนที่นั่งด้านข้างมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับถ้วยซุปจะมี 2 แบบ คือแบบจาน (plate) และแบบถ้วย (cup) ซึ่งแบบถ้วยนี้จะมีหูด้านข้างให้จับ เราสามารถจับที่หูแล้วยกน้ำซุปขึ้นมาซดได้ด้วย ทั้งนี้เมื่อทานซุปเสร็จแล้ว ให้นำช้อนซุปวางไว้ที่จานรอง อย่าทิ้งคาไว้ในชามนะคะ จะดูไม่งาม
5. หลังทานเสร็จ => รวบมีดส้อมให้ชิดแนว 5 โมง พับวางผ้าเช็ดปากแถวเก้าอี้
            เมื่อทานอาหารในจานเสร็จ ให้รวบส้อมและมีดชิดกัน (โดยไม่จำเป็นต้องคว่ำส้อม) แล้ววางเฉียงไว้ที่จานประมาณ 5 นาฬิกา แต่หากสาวคนไหนเกิดนึก หน้าปัดนาฬิกาไม่ออกกระทันหัน จะวางด้ามส้อมและมีดให้ตรงกับตัวเราเลยก็ได้ค่ะ ไม่ถือว่าเสียมารยาท
       โดยมารยาทแล้ว ขณะรับประทานอาหารถ้าเลี่ยงการไปเข้าห้องน้ำได้ก็ควรเลี่ยง แต่หากมีความจำเป็นต้องไปจริงๆ ก่อนลุกให้ขออนุญาตผู้ร่วมโต๊ะสักนิด แล้วพับผ้าเช็ดปากให้เป็นสามเหลี่ยมขนาดเล็กพอควร แล้ววางไว้ที่วางแขนเก้าอี้ แต่หากเก้าอี้ไม่มีที่วางแขนก็วางไว้บนเก้าอี้ได้เลย